‘เกษตรกรรม’ อาชีพหลักที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน แม้ดูเป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครสักคนจะประสบความสำเร็จบนเส้นทางสายนี้ เพราะนอกจากต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญและความอดทนแล้ว การเปลี่ยนแปลงด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำ อากาศ และระบบนิเวศ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ปัจจุบันก็ไม่ได้เอื้อต่อการทำเกษตรกรรมให้ได้ผลผลิตดีและยั่งยืนอีกต่อไป โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบและความเสียหายต่อความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมอย่างมหาศาล
ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้คนจำนวนมากถูกเลิกจ้างงานจากการล่มสลายของหลายธุรกิจ แต่นี่ก็กลายเป็นโอกาสและจุดเปลี่ยนในชีวิตของใครหลายๆ คน ในการเลือกทำอาชีพเกษตรกร เพาะปลูก หรือเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็น “ทางเลือก” และ “ทางรอด” ให้กับตัวเอง โดยเริ่มต้นจากการทดลองปลูกพืชผักสวนครัวเล็กๆ เลี้ยงไก่ไข่ ไว้รับประทานและขายเลี้ยงชีพ กระทั่งสามารถต่อยอดไปสู่การปลูกพืชมูลค่าสูงตามความต้องการของท้องตลาด และก้าวสู่การเป็นเกษตรกรยุคใหม่หรือผู้ประกอบการเกษตรที่พร้อมปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงได้ กับเคล็ดลับความสำเร็จของเกษตรกรยุคใหม่ที่เราได้รวบรวมมาฝากกัน
- ทำด้วยใจรัก ในความเป็นจริง บางคนอาจเริ่มต้นทำการเกษตรด้วยความจำเป็น แต่ถึงที่สุดแล้ว ระหว่างทางเราต้องทำด้วยใจรัก มุ่งมั่น และอยากจะทำจริงๆ โดยอาจเริ่มจากวางเป้าหมายเล็กๆ เช่น ปลูกไว้รับประทานในครัวเรือน หรือปลูกไว้จำหน่ายเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น จากนั้น จึงค่อยขยายเป้าหมายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อยกระดับทักษะฝีมือไปสู่อาชีพหลักที่สามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง
- เรียนรู้และพัฒนา หัวใจสำคัญที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ด้วยการศึกษาองค์ความรู้ เคล็ดลับและบทเรียนจากผู้อื่นในช่องทางต่างๆ ยิ่งในยุคดิจิทัลที่การสื่อสารไร้พรมแดนและมีคลังความรู้ให้เราได้ศึกษาอยู่มากมายบนโลกออนไลน์ เพื่อนำมาลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (ยกตัวอย่าง มีการทดลองปลูกผัก Lettuce พบว่า ผักที่ใช้น้ำผ่านการปรับสภาพด้วยระบบ HYDROSMART นั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดี ส่วนผักที่ใช้น้ำไม่ผ่านการปรับสภาพ จะตายในที่สุด แสดงให้เห็นว่าระบบ HYDROSMART ทำให้แคลเซียมในน้ำสามารถถูกดูดซึมเป็นสารอาหารได้ดี ช่วยให้ผักแข็งแรง เติบโตได้ดี และทนทานกับสภาวะแวดล้อม)
- รู้จักใช้เทคโนโลยี เมื่อเรารู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเกษตร ก็จะช่วยให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น เช่น การจัดการดูแลน้ำผ่านระบบ Hydrosmart จะทำให้แร่ธาตุในน้ำให้มีขนาดเล็กลง เหมาะสมต่อการดูดซึมอาหารของต้นไม้ พืชผัก จึงทำให้ต้นไม้ พืช ผักเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ช่วยป้องกันการอุดตันของท่อน้ำและหัวฉีดพ่นน้ำ หรือสปริงเกอร์ เป็นต้น
- ขยายและต่อยอด การใช้ประสบการณ์ ทรัพยากร และเทคโนโลยีผสมผสานกัน เพื่อขยายผลและต่อยอดไปสู่การทำเกษตรเชิงพาณิชย์ สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ไม่ว่าจะเป็นในเชิงประมาณที่มากขึ้น หรือเชิงคุณภาพได้อย่างเหมาะสม
- สร้างความยั่งยืน หลังจากที่สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้ตนเองจากการทำเกษตรได้แล้ว เราควรวางแผนระยะยาว เช่น การรวมกลุ่มตั้ง “วิสาหกิจชุมชน” ในการสร้างความเข้มแข็งและอำนาจต่อรอง เพื่อความอยู่รอดและเพิ่มความสามารถในเข้าถึงตลาดได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน
หากเราสามารถปลดล็อกข้อจำกัดทุกแง่มุมในการทำเกษตรกรรม ควบคู่ไปกับการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จได้รวดเร็วขึ้นอย่างแน่นอน