mail

[email protected]

phone

063-296-6644 / 088-293-9793

วอเตอร์อินโนเวชั่น ผู้นำด้านนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

phone

ติดต่อเรา

menu

รับมือ ‘น้ำท่วม’ อย่างไร? ให้ปลอดภัยใน 3 ช่วง

schedule visibility
135
share

แชร์

รับมือ ‘น้ำท่วม’ อย่างไร? ให้ปลอดภัยใน 3 ช่วง

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูกาลมรสุมหรือฤดูฝนของประเทศไทย หลายพื้นที่ต้องประสบพบเจอกับปัญหาอุทกภัยหรือน้ำท่วมอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในบางพื้นที่อาจเกิดน้ำท่วมขึ้นซ้ำๆ ซากๆ ขณะที่บางพื้นที่แม้จะยังไม่เคยเกิดน้ำท่วม แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน เพราะภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่คาดเดาและควบคุมได้ยาก ฉะนั้น สิ่งสำคัญคือ การเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินให้ได้มากที่สุด

  • ช่วงที่ 1 ก่อนน้ำท่วม
  1. รัฐ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนการใช้ที่ดินและการกำหนดผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวเมืองและให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติในเส้นทางไหลของน้ำ
  2. การออกแบบอาคาร บ้านเรือน สถานที่ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เคยน้ำท่วม ให้สูงเหนือระดับที่น้ำเคยท่วมแล้ว เช่น การยกพื้นสูงอาคารให้สูงขึ้น เป็นต้น
  3. การสร้างแหล่งการกักเก็บน้ำหรือเป็นการกั้นทางเดินน้ำ เช่น เขื่อน ฝาย ทำนบ และถนน เป็นต้น
  4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีระบบพยากรณ์สภาพอากาศ และประกาศเตือนภัย ให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้าอย่างทั่วถึง ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ
  5. การเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วม เช่น ถุงยังชีพ (ข้าวสาร อาหารแห้ง ยาประจำตัว), กระสอบทราย, ผนังกั้นน้ำ อุปกรณ์กั้นน้ำที่โครงสร้างยืดหยุ่นเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพการใช้งาน ทนทานต่อการกัดกร่อนและแรงดันน้ำได้ดี เป็นต้น
  6. การเตรียมป้องกันสิ่งของและเอกสารสำคัญ เช่น ใส่เอกสารสำคัญไว้ในถุงซิปล็อก และเก็บไว้ในที่สูง
  7. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนรับมือน้ำท่วมที่เตรียมไว้ และซักซ้อมแผนดังกล่าวร่วมกับประชาชนในพื้นที่
  • ช่วงที่ 2 น้ำกำลังท่วม
  1. ตั้งสติ อย่าตระหนกมากเกินไป และทำตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้เตรียมไว้ เช่น ล็อกประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง ไม่เดินทางหรือขับรถผ่านบริเวณน้ำเชี่ยว ห้ามเข้าใกล้บริเวณปลั๊กไฟ ที่อาจเสี่ยงให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วและช็อตได้ เป็นต้น
  2. อพยพออกจากบ้านหรือพื้นที่น้ำท่วม เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมไม่ดีขึ้น และมีการประกาศเตือนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรนำของจำเป็นเท่านั้นติดตัวไป โดยเฉพาะการย้ายผู้ป่วย เด็ก คนชรา ผู้ป่วยติดเตียงไปยังพื้นที่ปลอดภัย
  3. ช่วยกันบรรเทาปัญหาน้ำท่วมโดยทำผนังกั้นน้ำ ซึ่งปัจจุบันมีนวตกรรมผนังกั้นน้ำ WATER WALL ที่แข็งแรง ทนทาน มีประสิทธิภาพดีกว่ากระสอบทราย และยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ตลอดอายุการใช้งานยาวนานถึง 10 ปี
  4. ติดตามข้อมูลข่าวสารหรือการแจ้งเตือนน้ำท่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ทั้งระดับส่วนกลาง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และในระดับพื้นที่ เช่น นายอำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นต้น
  5. หากต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ควรประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ที่ใกล้ชิดมากที่สุด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัยน้ำท่วม โทร. 1111 กด 5, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สายด่วนแจ้งเตือนสาธารณภัย โทร. 1784 เป็นต้น
  • ช่วงที่ 3 หลังน้ำท่วมแล้ว
  1. รัฐมีมาตรการเยียวยาช่วยเหลือ ผู้ที่ได้ผลกระทบหรือความเสียหายจากภัยน้ำท่วม
  2. ชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูล ฟื้นฟูสภาพจิตใจและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
  3. ร่วมกันถอดบทเรียนกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น เพื่อวางแนวทางป้องกันและรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

เรื่องราวที่น่าสนใจ

ตะกรันในน้ำเกิดจากสาเหตุ มีวิธีขจัดคราบตะกรันและหินปูนอย่างไร

ตะกรันในน้ำเกิดจากสาเหตุ มีวิธีขจัดคราบตะกรันและหินปูนอย่างไร

ตะกรันในน้ำเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยในระบบการจ่ายน้ำ ที่ไม่ว่าจะเป็นในบ้านหรือตามโรงงานอุตสาหกรรมก็ตาม แต่รู้หรือไม่ว่าคราบตะกรันและหินปูนเหล่านี้สามารถขจัดได้

เพาะพันธุ์ความสำเร็จกับเกษตรยุคใหม่

เพาะพันธุ์ความสำเร็จกับเกษตรยุคใหม่

‘เกษตรกรรม’ อาชีพหลักที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน แม้ดูเป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

เพราะ ‘น้ำ’ คือ ‘ชีวิต’

เพราะ ‘น้ำ’ คือ ‘ชีวิต’

‘น้ำ’ เป็นสารประกอบที่พบมากถึง 3 ใน 4 ส่วนของพื้นโลก และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘น้ำ’ คือปัจจัยสำคัญมากที่มีผลต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

จุดเริ่มจาก ‘ความสะอาด’ สู่จุดหมาย ‘เมืองน่าอยู่’

จุดเริ่มจาก ‘ความสะอาด’ สู่จุดหมาย ‘เมืองน่าอยู่’

“เมืองน่าอยู่” มีแนวคิดมาจากองค์การอนามัยโลก (WHO)) เดิมใช้คำว่า “Healthy Cities” ที่แปลว่า “เมืองสุขภาพ”

‘วิกฤตขยะ’ โจทย์ใหญ่ของสภาวะโลกร้อน

‘วิกฤตขยะ’ โจทย์ใหญ่ของสภาวะโลกร้อน

‘วิกฤตขยะ’ นับเป็นปัญหาของมวลมนุษยชาติที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน (GLOBAL WARMING) อย่างเลี่ยงไม่ได้

บริษัท วอเตอร์ อินโนเวชั่น จำกัด

OUR CONTACTS

place

ที่อยู่

262/64 หมู่บ้านทรีโอ ร่มเกล้า

ถ.ร่มเกล้า แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี

กรุงเทพมหานคร 10150

262/64 TRIO ROMKLAO

ROMKLAO ROAD, MINBURI, MINBURI

BANGKOK, THAILAND 10510

headset_mic

Phone : 063-296-6644

phone_iphone

Mobile : 088-293-9793

email

Email : [email protected]

facebook.com/Waterinno

© 2023 All rights reserved.