mail

[email protected]

phone

063-296-6644 / 088-293-9793

วอเตอร์อินโนเวชั่น ผู้นำด้านนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

phone

ติดต่อเรา

menu

เพาะพันธุ์ความสำเร็จกับเกษตรยุคใหม่

schedule visibility
186
share

แชร์

เพาะพันธุ์ความสำเร็จกับเกษตรยุคใหม่

‘เกษตรกรรม’ อาชีพหลักที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน แม้ดูเป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครสักคนจะประสบความสำเร็จบนเส้นทางสายนี้ เพราะนอกจากต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญและความอดทนแล้ว การเปลี่ยนแปลงด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำ อากาศ และระบบนิเวศ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ปัจจุบันก็ไม่ได้เอื้อต่อการทำเกษตรกรรมให้ได้ผลผลิตดีและยั่งยืนอีกต่อไป โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบและความเสียหายต่อความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมอย่างมหาศาล

ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้คนจำนวนมากถูกเลิกจ้างงานจากการล่มสลายของหลายธุรกิจ แต่นี่ก็กลายเป็นโอกาสและจุดเปลี่ยนในชีวิตของใครหลายๆ คน ในการเลือกทำอาชีพเกษตรกร เพาะปลูก หรือเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็น “ทางเลือก” และ “ทางรอด”  ให้กับตัวเอง โดยเริ่มต้นจากการทดลองปลูกพืชผักสวนครัวเล็กๆ เลี้ยงไก่ไข่ ไว้รับประทานและขายเลี้ยงชีพ กระทั่งสามารถต่อยอดไปสู่การปลูกพืชมูลค่าสูงตามความต้องการของท้องตลาด และก้าวสู่การเป็นเกษตรกรยุคใหม่หรือผู้ประกอบการเกษตรที่พร้อมปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงได้ กับเคล็ดลับความสำเร็จของเกษตรกรยุคใหม่ที่เราได้รวบรวมมาฝากกัน

  1. ทำด้วยใจรัก ในความเป็นจริง บางคนอาจเริ่มต้นทำการเกษตรด้วยความจำเป็น แต่ถึงที่สุดแล้ว ระหว่างทางเราต้องทำด้วยใจรัก มุ่งมั่น และอยากจะทำจริงๆ โดยอาจเริ่มจากวางเป้าหมายเล็กๆ เช่น ปลูกไว้รับประทานในครัวเรือน หรือปลูกไว้จำหน่ายเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น จากนั้น จึงค่อยขยายเป้าหมายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อยกระดับทักษะฝีมือไปสู่อาชีพหลักที่สามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง
  2. เรียนรู้และพัฒนา หัวใจสำคัญที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ด้วยการศึกษาองค์ความรู้ เคล็ดลับและบทเรียนจากผู้อื่นในช่องทางต่างๆ ยิ่งในยุคดิจิทัลที่การสื่อสารไร้พรมแดนและมีคลังความรู้ให้เราได้ศึกษาอยู่มากมายบนโลกออนไลน์ เพื่อนำมาลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (ยกตัวอย่าง มีการทดลองปลูกผัก Lettuce พบว่า ผักที่ใช้น้ำผ่านการปรับสภาพด้วยระบบ HYDROSMART นั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดี ส่วนผักที่ใช้น้ำไม่ผ่านการปรับสภาพ จะตายในที่สุด แสดงให้เห็นว่าระบบ HYDROSMART ทำให้แคลเซียมในน้ำสามารถถูกดูดซึมเป็นสารอาหารได้ดี ช่วยให้ผักแข็งแรง เติบโตได้ดี และทนทานกับสภาวะแวดล้อม)
  3. รู้จักใช้เทคโนโลยี เมื่อเรารู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเกษตร ก็จะช่วยให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น เช่น การจัดการดูแลน้ำผ่านระบบ Hydrosmart จะทำให้แร่ธาตุในน้ำให้มีขนาดเล็กลง เหมาะสมต่อการดูดซึมอาหารของต้นไม้ พืชผัก จึงทำให้ต้นไม้ พืช ผักเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ช่วยป้องกันการอุดตันของท่อน้ำและหัวฉีดพ่นน้ำ หรือสปริงเกอร์ เป็นต้น
  4. ขยายและต่อยอด การใช้ประสบการณ์ ทรัพยากร และเทคโนโลยีผสมผสานกัน เพื่อขยายผลและต่อยอดไปสู่การทำเกษตรเชิงพาณิชย์ สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ไม่ว่าจะเป็นในเชิงประมาณที่มากขึ้น หรือเชิงคุณภาพได้อย่างเหมาะสม
  5. สร้างความยั่งยืน หลังจากที่สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้ตนเองจากการทำเกษตรได้แล้ว เราควรวางแผนระยะยาว เช่น การรวมกลุ่มตั้ง “วิสาหกิจชุมชน” ในการสร้างความเข้มแข็งและอำนาจต่อรอง เพื่อความอยู่รอดและเพิ่มความสามารถในเข้าถึงตลาดได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน

หากเราสามารถปลดล็อกข้อจำกัดทุกแง่มุมในการทำเกษตรกรรม ควบคู่ไปกับการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จได้รวดเร็วขึ้นอย่างแน่นอน

Long plantation of growing cucumbers in vast modern greenhouse

เรื่องราวที่น่าสนใจ

ตะกรันในน้ำเกิดจากสาเหตุ มีวิธีขจัดคราบตะกรันและหินปูนอย่างไร

ตะกรันในน้ำเกิดจากสาเหตุ มีวิธีขจัดคราบตะกรันและหินปูนอย่างไร

ตะกรันในน้ำเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยในระบบการจ่ายน้ำ ที่ไม่ว่าจะเป็นในบ้านหรือตามโรงงานอุตสาหกรรมก็ตาม แต่รู้หรือไม่ว่าคราบตะกรันและหินปูนเหล่านี้สามารถขจัดได้

น้ำมีสิ่งสกปรกปะปนทำให้เกิดปัญหาสิวจริงหรือไม่?

น้ำมีสิ่งสกปรกปะปนทำให้เกิดปัญหาสิวจริงหรือไม่?

น้ำมีการปะปนของสิ่งสกปรก เป็นอีกหนึ่งในต้นตอสำคัญของการเกิดสิวโดยที่หลายคนไม่เคยรู้  หลายคนเรียกว่า ‘สิวแพ้น้ำ’ การให้ความสำคัญกับน้ำสะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญ ‘สิวแพ้น้ำ’ ปัญหาสิวที่เกิดขึ้นจากสิ่งสกปรกในน้ำ มีจริงหรือไม่? สิวเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนได้ทุกช่วงวัย และสามารถเกิดได้จากทุกส่วนของร่างกาย อย่างที่หลายคนทราบดีว่าสิวมาจากหลายสาเหตุ ทั้งฮอร์โมน พันธุกรรม มลภาวะทางอากาศ และอาหารที่ทาน แต่ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่อยู่ใกล้ตัวที่ทำให้เกิดสิวได้เช่นเดียวกัน คือ น้ำไม่สะอาด นั่นเอง สิวแพ้น้ำ เกิดขึ้นจากอะไร? สิวแพ้น้ำ เกิดจากผิวไปสัมผัสเข้ากับมลพิษทางน้ำจนทำให้สิ่งสกปรกเหล่านั้นสะสมและซึมซับเข้าสู่รูขุมขน และเมื่อมีการสะสมเป็นจำนวนมากจนเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนังก็จะส่งผลให้เกิดอาการแพ้จนกลายเป็นสิวได้ นอกจากนี้น้ำไม่สะอาด มีสิ่งสกปรกสะสมยังมีผลต่อปฏิกิริยากับต่อมผลิตน้ำมันใต้ผิวหนังโดยตรง และมีผล ฮีสตามีน ถูกกระตุ้นการทำงานจนเกิดผดผื่นและสิว ซึ่งปัญหานี้มักเกิดกับคนที่ผิวบอบบาง แพ้ง่าย มากกว่าคนที่มีผิวปกติ ทั้งนี้สำหรับคนที่มีผิวปกติทั่วไปก็มีโอกาสเป็นสิวแพ้น้ำได้เช่นเดียวกัน หากว่ามีสารปนเปื้อน คราบตะกรัน และแบคทีเรียปะปนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการใช้สระว่ายน้ำที่มีสิ่งสกปรกสะสม และมีการใช้สารคลอรีนที่ทำให้ค่า pH เป็นกรดสูง จนส่งผลต่อผิวแห้ง คัน ที่ยิ่งเกายิ่งทำให้กลายเป็นสิวตามมา อาการแบบไหนเรียก สิวแพ้น้ำ สำหรับคนที่ผิวแพ้ง่าย บอบบาง เมื่อผิวถูกน้ำไม่สะอาด หรือน้ำที่มีสิ่งสกปรกปะปนจำนวนมาก จะทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง ยิ่งสัมผัสกับน้ำสกปรกเป็นเวลานานยิ่งมีอาการให้เห็นมากขึ้นด้วย นอกจากนี้บางคนอาจไม่มีอาการระคายเคืองเกิดขึ้นในทันที แต่เมื่อมีการสะสมของสิ่งสกปรกในน้ำมากขึ้นยิ่งทำให้รูขุมขนอุดตัน จนผิวเริ่มแห้ง…

เพราะ ‘น้ำ’ คือ ‘ชีวิต’

เพราะ ‘น้ำ’ คือ ‘ชีวิต’

‘น้ำ’ เป็นสารประกอบที่พบมากถึง 3 ใน 4 ส่วนของพื้นโลก และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘น้ำ’ คือปัจจัยสำคัญมากที่มีผลต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

จุดเริ่มจาก ‘ความสะอาด’ สู่จุดหมาย ‘เมืองน่าอยู่’

จุดเริ่มจาก ‘ความสะอาด’ สู่จุดหมาย ‘เมืองน่าอยู่’

“เมืองน่าอยู่” มีแนวคิดมาจากองค์การอนามัยโลก (WHO)) เดิมใช้คำว่า “Healthy Cities” ที่แปลว่า “เมืองสุขภาพ”

‘วิกฤตขยะ’ โจทย์ใหญ่ของสภาวะโลกร้อน

‘วิกฤตขยะ’ โจทย์ใหญ่ของสภาวะโลกร้อน

‘วิกฤตขยะ’ นับเป็นปัญหาของมวลมนุษยชาติที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน (GLOBAL WARMING) อย่างเลี่ยงไม่ได้

บริษัท วอเตอร์ อินโนเวชั่น จำกัด

OUR CONTACTS

place

ที่อยู่

262/64 หมู่บ้านทรีโอ ร่มเกล้า

ถ.ร่มเกล้า แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี

กรุงเทพมหานคร 10150

262/64 TRIO ROMKLAO

ROMKLAO ROAD, MINBURI, MINBURI

BANGKOK, THAILAND 10510

headset_mic

Phone : 063-296-6644

phone_iphone

Mobile : 088-293-9793

email

Email : [email protected]

facebook.com/Waterinno

© 2023 All rights reserved.