mail

[email protected]

phone

063-296-6644 / 088-293-9793

วอเตอร์อินโนเวชั่น ผู้นำด้านนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

phone

ติดต่อเรา

menu

รับมือ ‘น้ำท่วม’ อย่างไร? ให้ปลอดภัยใน 3 ช่วง

schedule visibility
119
share

แชร์

รับมือ ‘น้ำท่วม’ อย่างไร? ให้ปลอดภัยใน 3 ช่วง

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูกาลมรสุมหรือฤดูฝนของประเทศไทย หลายพื้นที่ต้องประสบพบเจอกับปัญหาอุทกภัยหรือน้ำท่วมอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในบางพื้นที่อาจเกิดน้ำท่วมขึ้นซ้ำๆ ซากๆ ขณะที่บางพื้นที่แม้จะยังไม่เคยเกิดน้ำท่วม แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน เพราะภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่คาดเดาและควบคุมได้ยาก ฉะนั้น สิ่งสำคัญคือ การเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินให้ได้มากที่สุด

  • ช่วงที่ 1 ก่อนน้ำท่วม
  1. รัฐ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนการใช้ที่ดินและการกำหนดผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวเมืองและให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติในเส้นทางไหลของน้ำ
  2. การออกแบบอาคาร บ้านเรือน สถานที่ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เคยน้ำท่วม ให้สูงเหนือระดับที่น้ำเคยท่วมแล้ว เช่น การยกพื้นสูงอาคารให้สูงขึ้น เป็นต้น
  3. การสร้างแหล่งการกักเก็บน้ำหรือเป็นการกั้นทางเดินน้ำ เช่น เขื่อน ฝาย ทำนบ และถนน เป็นต้น
  4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีระบบพยากรณ์สภาพอากาศ และประกาศเตือนภัย ให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้าอย่างทั่วถึง ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ
  5. การเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วม เช่น ถุงยังชีพ (ข้าวสาร อาหารแห้ง ยาประจำตัว), กระสอบทราย, ผนังกั้นน้ำ อุปกรณ์กั้นน้ำที่โครงสร้างยืดหยุ่นเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพการใช้งาน ทนทานต่อการกัดกร่อนและแรงดันน้ำได้ดี เป็นต้น
  6. การเตรียมป้องกันสิ่งของและเอกสารสำคัญ เช่น ใส่เอกสารสำคัญไว้ในถุงซิปล็อก และเก็บไว้ในที่สูง
  7. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนรับมือน้ำท่วมที่เตรียมไว้ และซักซ้อมแผนดังกล่าวร่วมกับประชาชนในพื้นที่
  • ช่วงที่ 2 น้ำกำลังท่วม
  1. ตั้งสติ อย่าตระหนกมากเกินไป และทำตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้เตรียมไว้ เช่น ล็อกประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง ไม่เดินทางหรือขับรถผ่านบริเวณน้ำเชี่ยว ห้ามเข้าใกล้บริเวณปลั๊กไฟ ที่อาจเสี่ยงให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วและช็อตได้ เป็นต้น
  2. อพยพออกจากบ้านหรือพื้นที่น้ำท่วม เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมไม่ดีขึ้น และมีการประกาศเตือนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรนำของจำเป็นเท่านั้นติดตัวไป โดยเฉพาะการย้ายผู้ป่วย เด็ก คนชรา ผู้ป่วยติดเตียงไปยังพื้นที่ปลอดภัย
  3. ช่วยกันบรรเทาปัญหาน้ำท่วมโดยทำผนังกั้นน้ำ ซึ่งปัจจุบันมีนวตกรรมผนังกั้นน้ำ WATER WALL ที่แข็งแรง ทนทาน มีประสิทธิภาพดีกว่ากระสอบทราย และยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ตลอดอายุการใช้งานยาวนานถึง 10 ปี
  4. ติดตามข้อมูลข่าวสารหรือการแจ้งเตือนน้ำท่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ทั้งระดับส่วนกลาง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และในระดับพื้นที่ เช่น นายอำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นต้น
  5. หากต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ควรประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ที่ใกล้ชิดมากที่สุด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัยน้ำท่วม โทร. 1111 กด 5, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สายด่วนแจ้งเตือนสาธารณภัย โทร. 1784 เป็นต้น
  • ช่วงที่ 3 หลังน้ำท่วมแล้ว
  1. รัฐมีมาตรการเยียวยาช่วยเหลือ ผู้ที่ได้ผลกระทบหรือความเสียหายจากภัยน้ำท่วม
  2. ชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูล ฟื้นฟูสภาพจิตใจและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
  3. ร่วมกันถอดบทเรียนกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น เพื่อวางแนวทางป้องกันและรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

เรื่องราวที่น่าสนใจ

ตะกรันในน้ำเกิดจากสาเหตุ มีวิธีขจัดคราบตะกรันและหินปูนอย่างไร

ตะกรันในน้ำเกิดจากสาเหตุ มีวิธีขจัดคราบตะกรันและหินปูนอย่างไร

ตะกรันในน้ำเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยในระบบการจ่ายน้ำ ที่ไม่ว่าจะเป็นในบ้านหรือตามโรงงานอุตสาหกรรมก็ตาม แต่รู้หรือไม่ว่าคราบตะกรันและหินปูนเหล่านี้สามารถขจัดได้

น้ำมีสิ่งสกปรกปะปนทำให้เกิดปัญหาสิวจริงหรือไม่?

น้ำมีสิ่งสกปรกปะปนทำให้เกิดปัญหาสิวจริงหรือไม่?

น้ำมีการปะปนของสิ่งสกปรก เป็นอีกหนึ่งในต้นตอสำคัญของการเกิดสิวโดยที่หลายคนไม่เคยรู้  หลายคนเรียกว่า ‘สิวแพ้น้ำ’ การให้ความสำคัญกับน้ำสะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญ ‘สิวแพ้น้ำ’ ปัญหาสิวที่เกิดขึ้นจากสิ่งสกปรกในน้ำ มีจริงหรือไม่? สิวเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนได้ทุกช่วงวัย และสามารถเกิดได้จากทุกส่วนของร่างกาย อย่างที่หลายคนทราบดีว่าสิวมาจากหลายสาเหตุ ทั้งฮอร์โมน พันธุกรรม มลภาวะทางอากาศ และอาหารที่ทาน แต่ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่อยู่ใกล้ตัวที่ทำให้เกิดสิวได้เช่นเดียวกัน คือ น้ำไม่สะอาด นั่นเอง สิวแพ้น้ำ เกิดขึ้นจากอะไร? สิวแพ้น้ำ เกิดจากผิวไปสัมผัสเข้ากับมลพิษทางน้ำจนทำให้สิ่งสกปรกเหล่านั้นสะสมและซึมซับเข้าสู่รูขุมขน และเมื่อมีการสะสมเป็นจำนวนมากจนเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนังก็จะส่งผลให้เกิดอาการแพ้จนกลายเป็นสิวได้ นอกจากนี้น้ำไม่สะอาด มีสิ่งสกปรกสะสมยังมีผลต่อปฏิกิริยากับต่อมผลิตน้ำมันใต้ผิวหนังโดยตรง และมีผล ฮีสตามีน ถูกกระตุ้นการทำงานจนเกิดผดผื่นและสิว ซึ่งปัญหานี้มักเกิดกับคนที่ผิวบอบบาง แพ้ง่าย มากกว่าคนที่มีผิวปกติ ทั้งนี้สำหรับคนที่มีผิวปกติทั่วไปก็มีโอกาสเป็นสิวแพ้น้ำได้เช่นเดียวกัน หากว่ามีสารปนเปื้อน คราบตะกรัน และแบคทีเรียปะปนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการใช้สระว่ายน้ำที่มีสิ่งสกปรกสะสม และมีการใช้สารคลอรีนที่ทำให้ค่า pH เป็นกรดสูง จนส่งผลต่อผิวแห้ง คัน ที่ยิ่งเกายิ่งทำให้กลายเป็นสิวตามมา อาการแบบไหนเรียก สิวแพ้น้ำ สำหรับคนที่ผิวแพ้ง่าย บอบบาง เมื่อผิวถูกน้ำไม่สะอาด หรือน้ำที่มีสิ่งสกปรกปะปนจำนวนมาก จะทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง ยิ่งสัมผัสกับน้ำสกปรกเป็นเวลานานยิ่งมีอาการให้เห็นมากขึ้นด้วย นอกจากนี้บางคนอาจไม่มีอาการระคายเคืองเกิดขึ้นในทันที แต่เมื่อมีการสะสมของสิ่งสกปรกในน้ำมากขึ้นยิ่งทำให้รูขุมขนอุดตัน จนผิวเริ่มแห้ง…

เพาะพันธุ์ความสำเร็จกับเกษตรยุคใหม่

เพาะพันธุ์ความสำเร็จกับเกษตรยุคใหม่

‘เกษตรกรรม’ อาชีพหลักที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน แม้ดูเป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

เพราะ ‘น้ำ’ คือ ‘ชีวิต’

เพราะ ‘น้ำ’ คือ ‘ชีวิต’

‘น้ำ’ เป็นสารประกอบที่พบมากถึง 3 ใน 4 ส่วนของพื้นโลก และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘น้ำ’ คือปัจจัยสำคัญมากที่มีผลต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

จุดเริ่มจาก ‘ความสะอาด’ สู่จุดหมาย ‘เมืองน่าอยู่’

จุดเริ่มจาก ‘ความสะอาด’ สู่จุดหมาย ‘เมืองน่าอยู่’

“เมืองน่าอยู่” มีแนวคิดมาจากองค์การอนามัยโลก (WHO)) เดิมใช้คำว่า “Healthy Cities” ที่แปลว่า “เมืองสุขภาพ”

บริษัท วอเตอร์ อินโนเวชั่น จำกัด

OUR CONTACTS

place

ที่อยู่

262/64 หมู่บ้านทรีโอ ร่มเกล้า

ถ.ร่มเกล้า แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี

กรุงเทพมหานคร 10150

262/64 TRIO ROMKLAO

ROMKLAO ROAD, MINBURI, MINBURI

BANGKOK, THAILAND 10510

headset_mic

Phone : 063-296-6644

phone_iphone

Mobile : 088-293-9793

email

Email : [email protected]

facebook.com/Waterinno

© 2023 All rights reserved.