“เมืองน่าอยู่” มีแนวคิดมาจากองค์การอนามัยโลก (WHO)) เดิมใช้คำว่า “Healthy Cities” ที่แปลว่า “เมืองสุขภาพ” หรือ “เมืองสุขภาพดี” โดยตัวบ่งชี้ที่สำคัญของเมืองน่าอยู่คือ (1) มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและมีที่อยู่อาศัยอย่างเพียงพอและปลอดภัย (2) มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ (3) มีความเข้มแข็งของชุมชนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และ (4) ประชาชนได้รับการตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต เช่น การมีโครงข่ายขนส่งสาธารณะ เส้นทางที่เชื่อมสู่แหล่งต่างๆ ได้อย่างสะดวก
ขณะที่ “ความสะอาด” ถือเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ที่จะทำให้มิติของ “เมืองน่าอยู่” นั้นเกิดขึ้นได้จริง เพราะนอกจากความสะอาดสะอ้านจะทำให้มีทัศนียภาพที่สวยงาม ใครพบเห็นก็สบายตาแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพกายสบายใจของผู้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นๆ
เช่นเดียวกับ ‘ความสะอาดบนท้องถนน’ ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่อการคมนาคมและการจราจรทางบกของผู้คน ทั้งในชุมชนขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือชุมชนขนาดใหญ่ในตัวเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งจำเป็นต้องออกแบบพื้นที่ให้มีสัดส่วนที่ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงการบริหารจัดการบำรุงดูแล เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากการจราจรบนท้องถนน ซึ่งจะทำให้การสัญจรเป็นไปอย่างสะดวก ปลอดภัย และเป็นการรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามาตรการการเก็บกวาดทำความสะอาดบนท้องถนน จะไม่สามารถตอบโจทย์ของการเป็นเมืองสะอาดหรือเมืองน่าอยู่ได้ทั้งหมด แต่นี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่สำคัญ เพราะหากเราสามารถสร้างความสะอาดได้แล้ว การสร้างบรรยากาศแวดล้อมต่างๆ ของเมืองให้น่าอยู่ก็จะตามมาในที่สุดจากความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่นั้นๆ บนบทบาทหน้าที่สำคัญ ในการจัดการปัญหาและรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน คือ
1. การจัดการปริมาณขยะที่เกิดขึ้นให้น้อยลง การคัดแยกขยะ การนำขยะไปรีไซเคิล เพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่
2. การเผยแพร่ความรู้ในการจัดการ การคัดแยกขยะ และการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง
3. การสนับสนุนงานศึกษาวิจัย เช่น การใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรมใหม่ในการทำความสะอาด เพื่อช่วยลดปริมาณฝุ่นบนท้องถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) หรือพลังงานไฟฟ้า (Electric Energy) เพื่อช่วยลดปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อน
5. การจัดสรรและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ท้องถนนอย่างถูกต้องและเหมาะสม
6. การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบที่ดี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลในพื้นที่อื่น เป็นต้น
โดยปัจจุบัน พบว่า เริ่มมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และเทศบาลหลายแห่งในประเทศไทยได้นำนวัตกรรมใหม่ที่ชื่อว่า รถกวาดถนนพลังงานไฟฟ้า จากประเทศอิตาลี มาใช้เป็นเครื่องมือในการล้างและทำความสะอาดถนนหนทาง เพื่อลดปริมาณเชื้อโรค ฝุ่นละอองและขยะบนท้องถนน ด้วยระบบพลังงานไฟฟ้า 100% ผสานกับการออกแบบด้านเทคโนโลยีการทำงานที่ปลอดภัยและชาญฉลาด ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มาทำลายชั้นบรรยากาศ ไม่มีฝุ่นควัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยทำความสะอาดและจัดการปัญหาขยะบนท้องถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังเป็นการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของเมืองให้ดีขึ้น แถมยังช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาอีกด้วย
ภาพโดย Olga Ozik จาก Pixabay
ภาพโดย César Mota จาก Pixabay
ภาพโดย Markus Winkler จาก Pixabay